อาการปวดหลังเป็นอาการที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย
ไม่เฉพาะแต่ในผู้สูงอายุเท่านั้น โดยเฉพาะปัจจุบันที่พบได้มากในวัยทำงาน ซึ่งถ้าหากมีอาการปวดหลังมาก อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สาเหตุการเกิดอาการปวดหลังมีปัจจัยได้หลายอย่างทั้งจากการใช้ชีวิตประจำวันหรือโรคประจำตัวที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลังเรื้อรัง
โดยทั่วไปอาการปวดหลังเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัยทั้งในหนุ่มสาววัยทำงาน ผู้สูงอายุ และผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย โดยในคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังไม่แข็งแรง ไม่สามารถรองรับน้ำหนักกระดูกสันหลังได้จนเกิดเป็นอาการปวดหลัง หรืออาจเกิดจากภาวะน้ำหนักตัวที่มากเกินไป จนทำให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักมาก นอกจากนี้ไขมันที่สะสมบริเวณหน้าท้องอาจทำให้ร่างกายเสียสมดุล
ท่าทางการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง
การใช้งานกล้ามเนื้อหลัง ที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานานเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการปวดหลัง ซึ่งพบได้บ่อย สำหรับในวัยทำงาน ที่ต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานหรือหน้าคอมพิวเตอร์ เป็นลักษณะของการนั่งทำงานอยู่ในอิริยาบทเดียวนานๆ ประกอบกับท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง โดยส่วนมากมักจะนั่งด้วยท่าทางแบบหลังงอ ไหล่ห่อ และก้มคอเข้าหาจอคอมพิวเตอร์ หรือเกิดจากยกของหนักโดยการก้มหลัง ทำให้น้ำหนักถูกกดไปที่กระดูกสันหลังส่วนที่กำลังโค้ง ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด
บางคนอาจมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบ กระดูกสันหลังคด หรือกระดูกสันหลังมีมากหรือน้อยกว่าคนปกติ ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวย่อมส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นได้ ซึ่งการทำกายภาพบำบัดอาจเป็นอีกทางหนึ่ง ที่ช่วยลดการปวดหลังได้ ไม่มากก็น้อยหรืออาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษา
ภาวะที่ทำให้อาการปวดหลังทวีความรุนแรง
- หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
มีอาการปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง หรืออาจมีอาการปวดหลังข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ โดยมักจะมีอาการในขณะที่นั่งหรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด - โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
คือภาวะที่มีการแคบลงของโพรงกระดูกสันหลังเนื่องมาจากการหนาตัวขึ้นของกระดูกหรือเส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทที่วิ่งอยู่ในโพรงกระดูกถูกบีบรัดจากกระดูกหรือเส้นเอ็นที่มีการหนาตัวขึ้นจากการเสื่อมสภาพ - กระดูกสันหลังเคลื่อน
เมื่อกระดูกสันหลังเสื่อมและเสียความแข็งแรงจะทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนได้ ทำให้เกิดอาการปวดหลังมีการขยับและอาจมีการปวดร้าวลงขาได้เมื่อมีการกดทับเส้นประสาทรวมถึงโรคอื่นๆ เกิดอาการปวดร้าวมาที่หลังได้ เช่น โรคไต โรคเกี่ยวกับรังไข่ และมดลูก โรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้องหรือมะเร็งเกิดการกระจายมายังกระดูกสันหลัง
ที่นอนเสื่อม คุณภาพไม่ได้มาตฐาน
ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอย่างมาก เพราะหลายๆ คนที่มีอาการปวดหลังเรือรังมักมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากการใช้ที่นอนที่ไม่ได้คุณภาพ มีความแข็งหรือความนุ่มมากจนเกินไป เนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน จนอาจเสื่อมคุณภาพก็เป็นไปได้ โดยที่นอนที่ดีควรมีความหนาแน่นที่พอดี ไม่แข็งหรือนิ่มมากจนเกินไปอีกทั้งโครงสร้างของที่นอนต้องมีความแข็งแรงทนทาน สามารถโอบรับสรีระร่างกายของเราช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและส่งเสริมในการนอนหลับพักผ่อนได้อย่างสนิทดีตลอดคืน ไม่ทำให้กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อหลังอยู่ในท่าคร่อม
เมื่อคนเราอายุมากขึ้นย่อมส่งผลทำให้ท่านอนและลักษณะในการนอนมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นควรมีการปรับเปลี่ยนที่นอนให้เหมาะสมในแต่ช่วงวัย ซึ่งที่นอนที่เหมาะสมกับสรีระของร่างกายที่ดีควรเป็นที่นอนที่มีความหนาแน่นที่เหมาะสม คือไม่นิ่มหรือมีความแข็งจนเกินไปเพราะจะส่งผลต่ออาการปวดหลังเรื้อรัง ในตอนที่ 2 ดาร์ลิ่ง จะมีรายละเอียดของสัญญาณเตือนที่ควรพบแพทย์ รวมถึงวิธีการรักษาให้หายจากอาการดังกล่าว